DESKTOP

By:

TABLET

By:

MOBILE

By:
Logo-MegaWeCare

อาหารจากพืชสามารถป้องกันมะเร็งได้หรือไม่?

22 พฤศจิกายน 2022

135

โรคมะเร็ง! สามารถป้องกันได้หรือไม่? มีวิธีรักษาไหม? นี่อาจเป็นคำถามที่ถูกถามกันมากที่สุด ซึ่งคำตอบนี้ยังคงไร้คำตอบท่ามกลางความคิดที่หลากหลายของวิทยาศาสตร์การแพทย์ แต่ด้วยความน่าสนใจในอาหารเพื่อสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น นักวิจัยพบว่าอาหารจากพืชสามารถช่วยป้องกันได้และในระดับหนึ่ง ยังสามารถรักษามะเร็งบางชนิดได้ หากได้รับการวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น

มะเร็งคืออะไร?
เพื่อค้นหาวิธีการป้องกันและการรักษาโรคมะเร็ง เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจสาเหตุของมะเร็งในระดับเซลล์ มะเร็งสามารถเรียกได้ว่าเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะในระดับยีนส์ เราทุกคนรู้ว่าเซลล์คือส่วนหนึ่งของชีวิต ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์หลายพันล้านเซลล์ เซลล์เหล่านี้มีนิวเคลียสที่ประกอบด้วยยีนส์และโปรตีนประเภทต่างๆ ที่ช่วยให้เซลล์ทำงานได้ตามปกติ
มีกลไกสำคัญ 2 ประการในเซลล์:
1. การตายของเซลล์: เนื่องจากยีนส์เซลล์ทุกเซลล์ถูกกำหนดให้ตายหลังเมื่อถึงเวลาที่กำหนด ความตายนี้ถูกตั้งโปรแกรมไว้แล้วล่วงหน้า ดังนั้นจำนวนเซลล์ในสิ่งมีชีวิตอาจจะคงตัว เพิ่มมากขึ้นหรือลดน้อยลงได้
2. การซ่อมแซมของเซลล์: เป็นเซลล์มีกลไกที่สร้างขึ้นเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและความไม่สมดุลของร่างกาย การได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ผลพลอยได้จากการเผาผลาญอาหารและจุลินทรีย์ในแต่ละวัน อาจนำไปสู่ความเสียหายของเซลล์รวมถึงความเสียหายต่อยีนส์ ความเสียหายเหล่านี้ได้รับการซ่อมแซมให้แข็งแรงและลดภาวะแทรกซ้อน
มะเร็งเกิดขึ้นเมื่อกลไกทั้งสองนี้ไม่เป็นไปตามลำดับ กลไกการทำงานของเซลล์ทั้งสองนี้อาจทำงานผิดปกติเนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ :

•พฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งขาดสารอาหารที่จำเป็น
•ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
•ผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ ที่มีไขมันหรือโปรตีนสูงและขาดเส้นใยแร่ธาตุและโภชนาการที่จำเป็นอื่นๆ
•ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น รังสียูวี
•พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การป้องกันมะเร็งด้วยอาหารจากพืชเป็นหลัก
นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าหากกลไกการซ่อมแซมของเซลล์ยังทำงานได้ดี ก็มีความเป็นไปได้ที่จะป้องกันมะเร็งได้เช่นกัน ไฟโตนิวเทรียนท์ที่พบในผักและผลไม้มีคุณสมบัติในการป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความเสียหายของดีเอ็นเอและอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์ ที่ทำให้เซลล์มะเร็งเติบโต คุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่พบในอาหารที่ทำจากพืชล้วนมีผลดีในการป้องกันมะเร็ง 1
อาหารจากพืชที่มีไขมันต่ำส่งผลดีต่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งผิวหนัง ข้อมูลจากสถาบันวิจัยมะเร็ง ประเทศอเมริกา พบว่าอาหารหลักของเราควรเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจากพืช เช่น ผลไม้ ผัก เมล็ดธัญพืช และถั่ว การศึกษาพิสูจน์แล้วว่าผักและผลไม้ป้องกันมะเร็งชนิดต่างๆ เช่นมะเร็งปาก มะเร็งหลอดลม มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งปอด

ข้อดีของอาหารจากพืช:
ผลิตภัณฑ์อาหารจากพืช มีวิตามินและแร่ธาตุที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงโดยการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
•อาหารจากพืชยังเป็นแหล่งที่ดีเยี่ยมของสารไฟโตเคมีคอล (สารประกอบทางชีวภาพ) ที่ช่วยปกป้องเซลล์ร่างกายจากความเสียหายที่อาจนำไปสู่มะเร็ง
•ปริมาณไฟเบอร์สูงในอาหารจากพืช ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง อาหารเหล่านี้ ได้แก่ ขนมปังธัญพืช พาสต้า ข้าวโอ๊ต ผักและผลไม้ อีกทั้งยังช่วยระบบการย่อยอาหาร ช่วยให้ลำไส้ของเราปลอดโปร่งและปราศจากโรค
•อาหารจากพืชมีแคลอรี่ต่ำ จึงช่วยควบคุมน้ำหนักส่วนเกินได้ การมีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับโรคสำคัญต่างๆ รวมถึงมะเร็ง

อาหารจากพืชสำหรับมะเร็งโดยเฉพาะ:
1. ผักบราสซิกา ประเภทผักกาด (กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี กะหล่ำบรัสเซลส์ ฯลฯ) มีผลดีต่อสุขภาพของเรา จากการศึกษาที่เน้นเกี่ยวกับกลูโคซิโนเลตและไอโซไทโอไซยาเนต ในผลิตภัณฑ์ไฮโดรไลซิส เนื่องจากมีคุณสมบัติในการป้องกันมะเร็ง 2

2. มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งในผู้หญิงที่พบได้บ่อยที่สุด การศึกษาแสดงให้เห็นว่า โรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหาร เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคเมตาบอลิกและอื่นๆ มีผลเท่าๆ กันทั่วโลก การศึกษาต่างๆ มุ่งเน้นให้เลือกรับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำ ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์สูง การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายและการควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้ มะเร็งเต้านมมีความเชื่อมโยงกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เช่นการเลือกอาหาร การปรุงอาหารและการเตรียมอาหารเป็นต้น อาหารที่มาจากพืช ให้พลังงานต่ำ มีระดับน้ำตาลต่ำ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง 3

3. นิสัยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ สามารถป้องกันความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งและช่วยในการรักษามะเร็ง การศึกษาเรื่องสารอาหารมีอิทธิพลต่อเซลล์มะเร็งยังคงคลุมเครือ แต่นักวิจัยได้ศึกษาสารอาหารที่แตกต่างกันหลายพันชนิดจากอาหารประเภทพืช การรับประทานอาหารจากพืชช่วยป้องกันเซลล์มะเร็งได้ เช่นการเปลี่ยนแปลงของยีนส์ ความผิดปกติของไมโทคอนเดรีย และการถดถอยของเซลล์ต้นกำเนิด นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการแบ่งเซลล์และความถี่ของเซลล์มะเร็ง ดังที่ฮิปโปเครติสกล่าวว่า “ให้อาหารเป็นยาและให้ยาเป็นอาหาร” ถือเป็นหลักการในการรักษาและป้องกันมะเร็ง

4. มะนาว (Citrus aurantifolia) มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านมะเร็ง ต้านเบาหวาน ต้านเชื้อรา ลดความดันโลหิตสูง ลดการอักเสบ ลดไขมันในเลือด และมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคตับ กระดูก หัวใจ และระบบทางเดินปัสสาวะ หลายวัฒนธรรมนิยมใช้มะนาวในทุกๆ วัน ทั้งในรูปแบบของน้ำผลไม้ หรือเป็นส่วนผสมสำหรับอาหารอื่น ๆ 5

5. จากการศึกษาพบว่า เมล็ดลูกซัด หรือ Fenugreek (Trigonella foenum graecum) ซึ่งเป็นเครื่องเทศจากธรรมชาติ มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง มีองค์ประกอบทางเคมีที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาโรค เช่น โรคเบาหวาน ไขมันสูง รักษาบาดแผล ลดการอักเสบและโรคระบบทางเดินอาหาร 6

6. สารเพคตินที่พบในมันฝรั่งช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งลำไส้และการลุกลามของวงจรเซลล์ 7
แนวทางการรับประทานอาหารจากพืช มุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายจากภายใน และความสามารถในการรักษาตัวเอง ดูแลให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดี นอกจากนี้ยังเลี่ยงปัจจัยที่จะก่อให้เกิดมะเร็งออกจากอาหาร ที่สำคัญ ขอแนะนำให้เพิ่มปริมาณผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืชและพืชตระกูลถั่วให้หลากหลายในจานอาหารของคุณ ประกอบด้วยเส้นใยไฟเบอร์และอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งและช่วยให้คุณมีชีวิตที่แข็งแรงและปราศจากโรค

ที่มา

1. Jyh-Lurn Chang et al.DNA Damage and Repair: Fruit and Vegetable Effects in a Feeding Trial. Nutr Cancer. Author manuscript; available in PMC 2013 Oct 19.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3799895/
2. Wieczorek MN et al. Bitter taste of Brassica vegetables: The role of genetic factors, receptors, isothiocyanates, glucosinolates, and flavor context. Crit Rev Food Sci Nutr. 2017 Jul 18:1-11. Crit Rev Food Sci Nutr. 2017 Jul 18:1-11.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28718657
3. Shapira N. The potential contribution of dietary factors to breast cancer prevention. Eur J Cancer Prev. 2017 Sep;26(5):385-395
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28746163
4. Pandey MK et al. Regulation of cell signaling pathways by dietary agents for cancer prevention and treatment. Semin Cancer Biol. 2017 Aug 16. pii: S1044-579X(17)30187-6.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28823533
5. Narang N ,  Jiraungkoorskul W. Anticancer Activity of Key Lime, Citrus aurantifolia. Pharmacogn Rev. 2016 Jul-Dec;10(20):118-122.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28082795
6. Khoja KK et al. Fenugreek, a naturally occurring edible spice, kills MCF-7 human breast cancer cells via an apoptotic pathway. Asian Pac J Cancer Prev. 2011;12(12):3299-304.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22471470
7. Cheng H et al.The inhibitory effects and mechanisms of rhamnogalacturonan I pectin from potato on HT-29 colon cancer cell proliferation and cell cycle progression. Int J Food Sci Nutr. 2013 Feb;64(1):36-43.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22694196

* บทความนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว หากมีข้อผิดพลาดประการใดทางบริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง