DESKTOP

By:

TABLET

By:

MOBILE

By:
Logo-MegaWeCare

โรคสามารถป้องกันและพลิกผันได้ด้วยอาหารจากพืชจริงหรือไม่

22 พฤศจิกายน 2022

122

เราสามารถป้องกันและพลิกผันโรคได้ด้วยอาหารจากพืชเป็นหลัก จริงหรือไม่? บทวิเคราะห์หลักฐานและการศึกษาวิจัย

บางคน “อยู่เพื่อกิน” และบางคน “กินเพื่ออยู่” นั้นแตกต่างกัน หลายๆ คนให้ความสำคัญในการกินอาหารที่ดี  ในขณะที่บางคนก็ที่กินเพื่อให้อยู่รอด และไม่กังวลเกี่ยวกับรสชาติมากเกินไป เห็นได้ชัดว่าอาหารที่เรากินและการเกิดโรคนั้นมีผลต่อกันโดยตรง ดังนั้นหากเราต้องการควบคุมโรค เราต้องให้ความสำคัญในเรื่องประโยชน์และโภชนาต่อร่างกายในอาหารที่เรากิน
เราทุกคนมีอาหารที่ชอบเวลาเลือกอาหาร ในขณะเดียวกันเ ราก็ต้องการป้องกันตัวเองจากโรคเรื้อรังต่างๆ ถ้าเราได้เรียนรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ จากอาหารที่ร่างกายของเราต้องเผชิญแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกจะเปลี่ยนมาเลือกรับประทานอาหารที่ทำจากพืชเป็นหลัก (Plant-based whole food)

การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า ความเจ็บป่วยต่างๆ มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับความระบบลำไส้ อาหารที่เรารับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดภาวะลำไส้แปรปรวน ทำให้จำนวนจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารลดลง อาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ อาหารแปรรูปและอาหารที่มีเส้นใยต่ำอาจมีผลเสียต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ อย่างไรก็ตามเราสามารถพลิกผันอาการนี้ได้โดยการรับประทานอาหารจากพืชเป็นหลัก อย่างไรก็ตามขอบเขตของการตอบสนองต่ออาหารอาจแตกต่างกันไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร การศึกษาชี้ให้เห็นว่ายุคปัจจุบันเป็นการเริ่มต้นใหม่ของอาหารเพื่อการบำบัดที่มีศักยภาพ 1

ผลของอาหารประเภทพืชเป็นหลัก ที่มีต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ:
อาหารจากพืชเป็นหลัก มีส่วนในการป้องกันและพลิกผันโรคหลอดเลือดหัวใจ (CAD) เช่นกัน การศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 198 คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ผู้ป่วยที่สนใจ จะได้รับคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการเปลี่ยนมารับประทานอาหารจากพืช โดยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด (ซึ่งหมายความว่าผู้เข้าร่วม ต้องงดรับประทานอาหารจากนม ปลา เนื้อสัตว์และน้ำมันเ) จากผู้ป่วย 198 รายพบว่า 177 (89%) สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อนี้ ในบรรดาผู้เข้าร่วมทั้งหมด พบว่ามีผู้เข้าร่วม 1 คน เกิดสภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ ในขณะที่ผู้เข้าร่วมที่เหลือทั้งหมด ไม่ได้พบปัญหาจากโรคหลอดเลือดหัวใจ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าหากผู้ป่วยโรคหัวใจปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต และรับประทานอาหารจากพืชเป็นหลัก จะหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงที่ในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจได้ อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนอาหารเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรได้รับการศึกษาและทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่า การบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบจากพืชเป็นหลัก มีผลดีต่อโรคหลอดเลือดหัวใจสำหรับผู้คนจำนวนมาก เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ 2

ประโยชน์ของการรับประทานอาหารจากพืชเป็นหลัก ในโรคเรื้อรังอื่นๆ
อาหารเป็นปัจจัยหลักและเป็นสาเหตุสำคัญ ที่มีผลต่อเนื่องกับโรคที่เกี่ยวข้อกับการเผาผลาญพลังงาน เช่น โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วนและโรคอัลไซเมอร์ การศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นถึงความประโยชน์ของอาหารบางชนิดในการพลอกผันโรคและป้องกันการลุกลามของโรคได้ ราสเบอร์รี่สีแดง (Rubus idaeus L. ) อุดมไปคุณประโยชน์และสารอาหารต่างๆ เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะเอลลาจิแทนนินและแอนโธไซยานิน สารอาหารรองที่จำเป็นและเส้นใยอาหาร การศึกษาชี้ให้เห็นว่าราสเบอร์รี่สีแดงสามารถย้อนกระบวนการก่อโรคที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วนและโรคอัลไซเมอร์ โรคเหล่านี้ส่วนใหญ่มีการเชื่อมโยงการเผาผลาญและออกซิเดชั่นและการอักเสบของร่างกาย 3
ประโยชน์ของการรับประทานอาหารจากพืชในผู้ป่วยเบาหวาน
อาหารสำหรับการรักษาพลิกผันโรคเบาหวานประเภท 2 แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าทึ่งในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารจากพืชเป็นเวลาติดต่อกันนาน 8 สัปดาห์ ในระยะเวลา 8 สัปดาห์นั้น ผู้ป่วยจะต้องรับประทานอาหารที่มีพลังงานต่ำมากต่อเนื่องกัน เนื่องจากช่วยในการลดน้ำหนัก จะลดระดับน้ำตาลในเลือดลงและเพิ่มความเป็นสุขภาพกายและจิตใจที่ดี 4
การทดสอบพบว่าอัตราการพลิกผันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นสูงกว่าในคนหนุ่มสาว มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 32 รายที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่สำหรับการศึกษา พวกเขาได้รับการให้ยาเมตฟอร์มิน (1,000-2,000 กรัม) นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างจริงจัง ซึ่งรวมถึงการรับประทานอาหารแคลอรี่ต่ำ (1500 กิโลแคลอรี / วัน) และเดินเร็วเป็นเวลา 1 ชั่วโมงต่อวัน เห็นได้ชัดว่าระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารน้อยกว่า 126mg / dl และ HbA1C น้อยกว่า 6.5% ปริมาณยาลดลงหรือสามารถหยุดลงได้ และยังได้ติดตามผู้ป่วยต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาเบาหวานในวัยหนุ่มสาว ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างจริงจัง จึงประสบความสำเร็จอย่างมาก 5

อาหารจากพืชเพื่อลดการเกิดมะเร็ง:
ฟีนูกรีก , เมล็ดลูกซัด Fenugreek (Trigonella foenum graecum) เป็นเครื่องเทศตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง เนื่องจากมีส่วนประกอบทางเคมีที่เป็นประโยชน์ ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งเต้านมผ่านทางกำจัดเซลล์ที่ตาย 6
การศึกษาวิจัย พบว่าส่วนประกอบของอาหารจากพืช เช่น ไฟโตเอสโทรเจนจากถั่วเหลืองมีผลในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากและมีประโยชน์ในการหยุดการลุกลามของโรค 7
ยังมีการศึกษาพบว่าเพคติน (pectin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในมันฝรั่ง มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งในมะเร็งลำไส้ 8

อาหารจากพืชในโรคไตเรื้อรัง:
มูลนิธิโรคไตแห่งชาติแนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรับประทานอาหารจากพืช โปรตีนจากพืชช่วยเรื่องความดันโลหิต โปรตีนในปัสสาวะและอัตราการกรองของเสียจากไต ช่วยลดความเสียหายของเนื้อเยื่อไตในผู้ป่วยไตเรื้อรัง การรับประทานอาหารจากพืชยังช่วยลดความเป็นพิษของท่อไต ลดโปรตีนในปัสสาวะ รักษาภาวะโภชนาการ และลดอัตราการลุกลามของไตวาย 9
การศึกษาวิจัยที่กล่าวถึงนี้แสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะพลิกผันโรคเรื้อรัง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับอาหารจากพืชและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอาจช่วยให้เราลดความเสี่ยงและพลิกผันโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ และมะเร็งบางประเภท

ที่มา

1. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27609798
Pallister T, Spector TD. Food: a new form of personalised (gut microbiome) medicine for chronic diseases? J R Soc Med. 2016 Sep;109(9):331-6.
2. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25198208
Esselstyn CB Jr et al. A way to reverse CAD? J Fam Pract. 2014 Jul;63(7):356-364b.
3. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26773014
Burton-Freeman BM et al. Red Raspberries and Their Bioactive Polyphenols: Cardiometabolic and Neuronal Health Links. Adv Nutr. 2016 Jan 15;7(1):44-65.
4. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28727247
Rehackova L et al. Acceptability of a very-low-energy diet in Type 2 diabetes: patient experiences and behaviour regulation. Diabet Med. 2017 Jul 20.
5. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28250676
Sarathi V et al. High rates of diabetes reversal in newly diagnosed Asian Indian young adults with type 2 diabetes mellitus with intensive lifestyle therapy. J Nat Sci Biol Med. 2017 Jan-Jun;8(1):60-63.
6. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22471470
Khoja KK et al. Fenugreek, a naturally occurring edible spice, kills MCF-7 human breast cancer cells via an apoptotic pathway. Asian Pac J Cancer Prev. 2011;12(12):3299-304.
7. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22126297
Adjakly M et al. DNA methylation and soy phytoestrogens: quantitative study in DU-145 and PC-3 human prostate cancer cell lines. Epigenomics. 2011 Dec;3(6):795-803.
8. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22694196
Cheng H et al.The inhibitory effects and mechanisms of rhamnogalacturonan I pectin from potato on HT-29 colon cancer cell proliferation and cell cycle progression. Int J Food Sci Nutr. 2013 Feb;64(1):36-43.
9.  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28394274
Gluba-Brzózka A, Franczyk B, Rysz J. Vegetarian Diet in Chronic Kidney Disease-A Friend or Foe. Nutrients. 2017 Apr 10;9(4). pii: E374

* บทความนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว หากมีข้อผิดพลาดประการใดทางบริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง