DESKTOP

By:

TABLET

By:

MOBILE

By:
Logo-MegaWeCare

อาหารจากพืชและภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

22 พฤศจิกายน 2022

94

Polycystic ovarian syndrome หรือ PCOS เป็นภาวะร่างกายที่เกิดขึ้นได้ในผู้หญิง ซึ่งฮอร์โมนเพศ เช่น เอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีการเปลี่ยนแปลง ความไม่สมดุลนี้ส่งผลให้เกิดการเติบโตของซีสต์ (ก้อนเนื้อที่ไม่อันตราย) บนรังไข่ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงประจำเดือนมาไม่ปกติ โรคกระดูกพรุน การเจริญเติบโตของขนในร่างกายผิดปกติ ความผิดปกติของอารมณ์และภาวะมีบุตรยาก ผู้หญิงที่เป็นโรค PCOS อาจประสบปัญหาในการตั้งครรภ์ เนื่องจากการตกไข่ผิดปกติหรือไม่สม่ำเสมอ อาจต้องเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก ถึงแม้ว่าจะตั้งครรภ์ได้ แต่ก็จะมีความเสี่ยงสูงในการแท้งบุตรในช่วงสามเดือนแรก

การปรับเปลี่ยนอาหารและวิธีการใช้ชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้ว่าจะมียาหลายชนิดสำหรับรักษา PCOS ก็ตาม
ออกกำลังกายเป็นประจำและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ PCOS คือการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันผิดๆ ดังนั้นหากคุณต้องการกำจัดอาการของ PCOS คุณต้องลดปัจจัยเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการออกกำลังกายเป็นสิ่งแรกในการจัดการ PCOS ที่ต้องเริ่มทำ

การควบคุมน้ำหนักกับสภาวะ PCOS
บ่อยครั้งที่ผู้ป่วย PCOS ต้องทนทุกข์ทรมานจากระดับฮอร์โมนอินซูลินในเลือดสูง และไม่สามารถควบคุมน้ำหนักได้ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนทำให้น้ำตาลถูกเปลี่ยนเป็นไขมันมากขึ้น เซลล์ไขมันก็จะหลั่งฮอร์โมนออกมามากขึ้นและร่างกายขาดความสมดุล และนั่นทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องและสะโพก ซึ่งเป็นไขมันไม่ดี และกำจัดออกจากร่างกายได้ยาก
การเปลี่ยนแปลงอาหาร เช่น การรับประทานอาหารจากพืชเป็นหลัก ไขมันต่ำ อาจช่วยควบคุมและลดน้ำหนักและยังควบคุมอาการต่างๆ ได้ อาหารจากพืชน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย PCOS 1

การควบคุมระดับอินซูลิน:
ผู้ป่วยที่มี PCOS จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ความเสี่ยงนี้สามารถควบคุมได้โดยหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว และน้ำตาล ผู้ป่วยที่เป็น PCOS มักจะได้รับยาในกลุ่ม metformin เพื่อควบคุมระดับอินซูลินและรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำ และเน้นการรับประทานธัญพืช ผักและผลไม้

ฟื้นฟูระบบการตกไข่:
ผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS จะมีปัญหาการตกไขไม่สมดุล เนื่องจากการหลั่งฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เพิ่มขึ้น การศึกษาพบว่า อาหารที่มีธาตุเหล็ก จะช่วยลดอุบัติการณ์ของภาวะมีบุตรยาก ดังนั้นอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้และขนมปัง ธัญพืชอยู่ในอาหารทุกมื้อ อาหารที่อุดมด้วยวิตามินซีช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก นอกจากนี้อาหารจากพืชยังไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสาเหตุของความไม่สมดุลของฮอร์โมนอีกด้วย

ควบคุมการมีประจำเดือน:
ความไม่สมดุลขอฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ในสตรีที่มีภาวะ PCOS อาหารจากพืชเป็นหลักมีส่วนอย่างมากในการช่วยลดน้ำหนัก ปรับระดับฮอร์โมน และปรับรอบประจำเดือนให้เป็นปกติ นักวิจัยแนะนำว่าการลดน้ำหนักลง 10 เปอร์เซ็นต์สามารถช่วยลดอาการโดยรวมได้ การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงและการลดปริมาณกรดไขมันทรานส์เป็นสิ่งสำคัญในการปรับการเผาผลาญพลังงานและการควบคุมน้ำหนัก อาหารที่ต้องมีในทุกมื้อควรเป็นพืชตระกูลถั่ว โฮลวีต ข้าวโอ๊ตและข้าวกล้องที่มีไฟเบอร์สูง 2

การจัดการ PCOS ด้วยอาหารจากพืชและการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิต

1. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปและสกัด เช่นน้ำตาล ขนมปังและพาสต้า แป้งขัดขาว น้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตสสูง สารให้ความหวานเทียม สีผสมอาหาร ไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวสูงเป็นต้น เปลี่ยนไปรับประทานอาหารทั้งจากพืชซึ่งรวมถึง ธัญพืชไร้กลูเตน ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ลูกเดือยและควินัว
2. ดื่มน้ำบริสุทธิ์อย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน เพิ่มรสชาติให้กับน้ำด้วยผลไม้รสเปรี้ยว แตงกวา มิ้นท์หรือเบอร์รี่ต่างๆ
3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4. รับประทานอาหารให้พออิ่มในแต่ละมื้อ แต่บ่อยครั้ง เช่น ทุก 3-4 ชั่วโมง
5. ทานโปรตีนที่ไม่ติดมันและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนในทุกมื้อ หรือของว่าง
6. วางแผนทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ เตรียมอาหารไว้ให้พร้อมเมื่อคุณออกไปทำงาน เพื่อให้คุณไม่จำเป็นต้องกินอะไรก็ได้ที่มีอยู่
7. รับประทานอาหารที่สมดุล
8. การออกกำลังกายหรือโยคะควรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคุณ
9. เมื่อฮอร์โมนแอนโดรเจนลดลง ขนและเส้นผมจะมากขึ้น
10. จัดการความเครียด ปฏิบัติตามเทคนิคโยคะและการทำสมาธิและรักษาสมดุลระหว่างชีวิตอาชีพและชีวิตส่วนตัว

ประมาณ 50% ของผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานเมื่ออายุ 40 ปี ดังนั้นเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จากภาวะ PCOS การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นสิ่งสำคัญมาก อาหารที่ทำจากพืชเป็นหลัก เช่น ผักโขม บรอกโคลี ข้าวกล้อง ธัญพืชที่มีเส้นใยสูงและเครื่องดื่มน้ำตาลต่ำสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงได้

ที่มา

1. Al-Ruthia YS et al. Ovulation induction by metformin among obese versus non-obese women with polycystic ovary syndrome. Saudi Pharm J. 2017 Jul;25(5):795-800.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28725153

2. Nybacka Ået al. Increased fibre and reduced trans fatty acid intake are primary predictors of metabolic improvement in overweight polycystic ovary syndrome-Substudy of randomized trial between diet, exercise and diet plus exercise for weight control. Clin Endocrinol (Oxf). 2017 Jul 20.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28727165

* บทความนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว หากมีข้อผิดพลาดประการใดทางบริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง