DESKTOP

By:

TABLET

By:

MOBILE

By:
Logo-MegaWeCare

อาหารจากพืช Vs อาหารจากเนื้อสัตว์ : ข้อมูลเชิงวิชาการ

22 พฤศจิกายน 2022

542

         บุคคลมีชื่อเสียงมากมาย เช่น Aamir Khan, Amitabh Bachchan, Ellen Page, Alicia Silverstone, James Cromwell, Rekha, Kangna Ranaut, Anushka Sharma, Vidyut Jamwal และ Ellen Degeneres และอีกหลายๆ คน ที่หันมาใช้ชีวิตแบบมังสวิรัติ แนวคิดนี้กำลังเป็นที่นิยมสำหรับคนมีชื่อเสียง เนื่องจากความต้องการที่จะรักษาสมดุลระหว่างคุณค่าของชีวิต ดังนั้นอาหารที่รับประทานเข้าไป จึงควรทำให้เรามีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง

         อาหารจากพืชเป็นหลัก Plant-based whole food คืออาหารที่มี ผลไม้ ผัก พืชประเภทหัว ธัญพืชและพืชตระกูลถั่ว โดยไม่รวมอาหารที่ทำมาจากสัตว์ รวมถึงไก่ ปลา ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่และอาหารที่ผ่านการสกัด และขัดสี เช่นแป้งฟอกขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และน้ำมัน

        อาหารที่ทำจากสัตว์ ได้แก่ อาหารหรือวัตถุดิบที่ได้มาจากสัตว์ เช่น เนื้อ นม ไข่ ชีสและโยเกิร์ต

 

ทำไมเราควรเลิกการบริโภคอาหารจากสัตว์?

         ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราเชื่อกันมาตลอด นมวัวไม่มีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของกระดูก ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพ้ภูมิตัวเอง เบาหวา นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านมนั้น การดื่มนมกลับมีผลต่อการผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโต และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเติบโตของเนื้องอกในร่างกาย

         อาหารจากสัตว์ขาดเส้นใยเนื่องจากอาหารจากพืชล้วนอุดมไปด้วยเส้นใยที่ควบคุมสารอาหารในร่างกาย

         ดังที่เราทราบดีว่าโปรตีนในอาหารมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและรักษาความผิดปกติของการเผาผลาญพลังงานต่างๆ มีกาศึกษาอย่างเป็นจริงจัง เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรตีนจากพืชและโปรตีนจากสัตว์อที่มีต่อคุณสมบัติต่างๆอของความผิดปกติของการเผาผลาญ เห็นได้ชัดว่าการบริโภคโปรตีนจากถั่วเหลือง (ที่มีไอโซฟลาโวน) หรือโปรตีนจากพืชอื่นๆ เช่นโปรตีนถั่วและลูปินกลูเตนจากข้าวสาลี ฯลฯ จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลรวมและ LDL ลงได้ถึง 3% เมื่อเทียบกับการบริโภคโปรตีนจากสัตว์ ดังนั้นโปรตีนจากถั่วเหลืองที่มีไอโซฟลาโวนอาจช่วยลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งมีผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 1 การรับประทานอาหารจากพืช ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและพัฒนาระบบเผาผลาญพลังงาน อันนำไปสู่โรคอ้วน นอกจากนี้ยังเห็นได้ชัดว่าในผู้ป่วยมะเร็งที่เปลี่ยนอาหารจากเนื้อสัตว์มาเป็นอาหารจากพืช ได้ผลดีต่อร่างกาย 2

         อาหารจากสัตว์เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ปริมาณโปรตีนที่มากเกินไปในอาหารจากสัตว์จะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็ง และนำไปสู่โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวานเป็นต้น ปริมาณสารอาหารที่แนะนำสำหรับโปรตีนคือ 10% ของแคลอรี่ และหากเราบริโภคจากสัตว์เราอาจจะได้รับโปรตีนมากว่าที่แนะนำเป็นสองเท่า

         อาการสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรช่วยลดความเป็นพิษต่อไตลง ลดโปรตีนในปัสสาวะรักษาภาวะโภชนาการที่ดี และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทุติยภูมิ เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคกระดูกและความดันโลหิตสูง มูลนิธิโรคไตแห่งชาติแนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรับประทานอาหารมังสวิรัติ เนื่องจากเป็นที่แน่นอนแล้วว่า โปรตีนจากพืชมีผลดีต่อความดันโลหิต โปรตีนในปัสสาวะและอัตราการกรองของเสียออกจากไต และลดความเสียหายของเนื้อเยื่อไตเมื่อเทียบกับโปรตีนจากสัตว์ 3

         อาหารที่ผ่านการแปรรูป เช่น ขนมหวาน ขนมอบและพาสต้าแปรรูป ซึ่งขาดไฟเบอร์ วิตามินและแร่ธาตุหลังจากการย่อยอาหาร จะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการดื้อต่ออินซูลิน มะเร็งลำไส้ โรคหลอดเลือดและน้ำหนักเพิ่ม นอกจากนี้ยังพบว่ารูปแบบการบริโภคอาหารประเภทพืชเป็นหลัก ศึกษาแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันและลดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ 4

         แม้แต่น้ำมันมะกอกที่ดีที่สุดก็มีไขมัน 100% มีแคลอรี่สูงและมีโภชนาการที่ไม่ดีสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ

 

เหตุใดเราจึงควรเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่ทำจากพืช plant-based whole food?

     อาหารจากพืชเป็นที่ทราบกันดีว่าช่วยเพิ่มไขมันในพลาสมา ช่วยควบคุมเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นต้น [5] เป็นความจริงที่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่สามารถทำได้ในชั่วข้ามคืน การเปลี่ยนตัวเองออกจากสิ่งที่คุ้นเคย เป็นเรื่องท้าทายทางอย่างมาก และเราก็ต้องเชื่อในระบบธรรมชาติ และเชื่อว่ายาที่ดีที่สุดคืออาหารที่เราใส่เข้าไปในร่างกาย

   อาหารเพื่อสุขภาพที่มีเส้นใยไฟเบอร์สูง และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนช่วยปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดตลอดทั้งวัน ช่วยให้เราอิ่มนานขึ้น ร่างกายกระปรี้กระเปร่า (ป้องกันอาการง่วงนอนและง่วงซึม) และยังป้องกันไม่ให้เราอยากทานของว่างอีกด้วย

    ในการลดน้ำหนักหรือเปลี่ยนนิสัยติดรสชาตอาหาร ให้รับประทานผักเป็นอาหารเช้าหรือมื้อใดก็ได้

 

ข้อดีของอาหารที่ทำจากพืชมากกว่าอาหารจากสัตว์

อาหารจากพืชช่วยควบคุมความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งและยังช่วยลดน้ำหนัก

  1. ลดความดันโลหิต: อาหารที่ทำจากพืชเต็มไปด้วยโพแทสเซียม ช่วยลดระดับความดันโลหิตที่ทำให้เกิดความเครียดและวิตกกังวล การรับประทานธัญพืช พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืชและผัก ผลไม้ทุกชนิด เราจะได้รับโพแทสเซียมและวิตามินบี 6 ในปริมาณสูงซึ่งจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง
  2. ลดคอเลสเตอรอล: ไข่ไก่ 1 ฟองอาจมีคอเลสเตอรอลเป็น 2 เท่า แฮมเบอร์เกอร์และเนื้อปลาอาจมีคอเลสเตอรอลเท่ากันหรือมากกว่าเนื้อสัตว์หรือเนื้อไก่ ขึ้นอยู่กับประเภทของอาหารที่เรากิน พืชไม่มีคอเลสเตอรอลแม้จะอยู่ในแหล่งอิ่มตัว เช่น มะพร้าวและโกโก้ ดังนั้นการรับประทานอาหารจากพืชจึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการปรับสมดุลระดับคอเลสเตอรอลของเรา
  3. ควบคุมน้ำตาลในเลือด: เบาหวานหรือน้ำตาลในเลือดสูงสามารถควบคุมได้ ด้วยยการบริโภคเส้นใยไฟเบอร์อย่างเพียงพอ ช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดและควบคุมความหิวตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ยังช่วยปรับสมดุลของระดับคอร์ติซอลที่ทำให้เกิดความเครียด
  4. ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง: อาหารจากพืช มีไขมันต่ำ เมื่อควบคู่ไปกับการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง ในทางกลับกัน มีการศึกษาพบว่าอาหารจากสัตว์เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม
  5. การลดน้ำหนัก: แม้ว่าอาหารปรุงสุกอาจช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี แต่การลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ เราควรเน้นการบริโภคอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์ วิตามินและแร่ธาตุ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะลดน้ำหนักได้ 5 ปอนด์ภายใน 2 สัปดาห์หลังจากเริ่มรับประทานอาหารจากพืช โดยไม่ต้องทนหิวหรืออดอาหาร

 

          การเปลี่ยนนิสัยเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ เพียงมีความมุ่งมั่น วางแผนและทำตามอย่างเคร่งครัด ไม่ต้องใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ยังช่วยประหยัดเวลาและเงินได้มาก เมื่อเราปรับเปลี่ยนนิสัยการกินเป็นการกินเพื่อสุขภาพ

          อาหารจากพืชไม่ได้เป็นเพียงแค่อาหารลดน้ำหนักเท่านั้น แต่ยังเป็นวิถีชีวิตที่ดี เพื่อชีวิตและการมีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งไม่น่าเบื่อจนเกินไป มาเริ่มทดลองอาหารจากพืชและเริ่มต้นวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ

ที่มา

  1. Chalvon-Demersay T, Azzout-Marniche D, Arfsten J, Egli L, Gaudichon C, Karagounis LG, Tomé D. A Systematic Review of the Effects of Plant Compared with Animal Protein Sources on Features of Metabolic Syndrome J Nutr. 2017 Mar;147(3):281-292. doi: 10.3945/jn.116.239574. Epub 2017 Jan 25
  2. Szabó Z, Erdélyi A, Gubicskóné Kisbenedek A, Ungár T, Lászlóné Polyák É, Szekeresné Szabó S, Kovács RE, Raposa LB, Figler M. Plant-based diets: a review Orv Hetil. 2016 Nov;157(47):1859-1865.
  3. Gluba-Brzózka A, Franczyk B, Rysz J. Vegetarian Diet in Chronic Kidney Disease-A Friend or Foe Nutrients. 2017 Apr 10;9(4). pii: E374. doi: 10.3390/nu9040374.
  4. Sutliffe JT, Fuhrman JH, Carnot MJ, Beetham RM, Peddy MS Nutrient-dense, Plant-rich Dietary Intervention Effective at Reducing Cardiovascular Disease Risk Factors for Worksites: A Pilot Study Altern Ther Health Med. 2016 Sep;22(5):32-6.
  5. Massera D, Zaman T, Farren GE, Ostfeld RJ A Whole-Food Plant-Based Diet Reversed Angina without Medications or Procedures Case Rep Cardiol. 2015;2015:978906. doi: 10.1155/2015/978906. Epub 2015 Feb 10

* บทความนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว หากมีข้อผิดพลาดประการใดทางบริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง